1.2 ตรวจรับรถโดยใช้แบบฟอร์มใบรับรถ (ตามแนบ) ซึ่งมีรายละเอียดของการตรวจสภาพ ดังนี้ ตรวจสภาพตัวถังรถรอบคัน ถ้ามีรอยขูดขีด รอยบุบ รอยชน ไฟแตก กระจกร้าว/แตก และส่วนอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในสภาพปกติให้ทำเครื่องหมาย ไว้ในภาพจำลองรถยนต์ตรวจสภาพภายในห้องโดยสารดูว่ามีสิ่งของ อะไรที่ลูกค้าทิ้งไว้ในรถแล้วบันทึกลงใน ช่องรายการเพิ่มเติมติดเครื่องยนต์ แล้วตรวจสอบระบบการ ทำงานของระบบไฟฟ้ารถยนต์ เช่นสวิทช์ขึ้นลงกระจก สวิทช์ปรับกระจกมองข้าง มอเตอร์ฉีดน้ำฝน ไฟเลี้ยว ไฟหน้า ไฟถอย วิทยุเครื่องเสียงรถยนต์ ตรวจสอบระบบแอร์ โดยการปิดแอร์แล้วตรวจสอบรอบเครื่องยนต์ ขณะเดินเบาควรอยู่ระหว่าง 650-850 รอบ ต่อนาที่ ถ้าต่ำกว่านี้ถือว่าผิดปกติเปิดแอร์แล้วตรวจสอบรอบ เครื่องยนต์ขณะเดินเบาควรอยู่ระดับเดียวกับขณะปิดแอร์หรือ ต่ำกว่าไม่เกิน 100 รอบ ถ้าต่ำกว่านี้ถือว่า ผิดปกติตรวจสอบเครื่องยนต์ โดยใส่เกียร์ว่างและดึงเบรคมือเร่งเครื่องยนต์ดูอาการสะดุด หรือกระตุกของเครื่องยนต์ถ้า มีอาการดังกล่าวให้บันทึกลงไว้ในช่องเพื่มเติมรายการในกรณีที่ตรวจสภาพแล้วพบว่า เครื่องยนต์มีปัญหา ระบบไฟฟ้ามีปัญหา แจ้งให้ลูกค้ารับทราบ ถึงปัญหาและเซ็นส่งมอบรถ
ขั้นตอนที่ 2 ผู้ปฎิบัติงาน ช่างยนต์
2.5 ใช้สว่านมือเจาะท่อร่วมไอดี ด้วยดอกสว่านขนาด 8 มม. ให้ครบทั้ง 4 สูบ และใช้ดอกต๊าบ ขนาด 8x1 เพื่อต๊าบเกลียวในรูที่เจาะให้ครบทั้ง 4 สูบ
2.6 นำ Manifold Nozzles มาประกอบ ลงในรูที่ต๊าบเกลียวไว้แล้วใช้น้ำยาทาเกลียว ทาเพื่อป้องกันการรั่ว
2.8 ยึดสายหัวฉีดก๊าชเข้ากับ Maniflod Nozzles โดย ตัดให้มีความสั้นที่สุดและยาวเท่ากันทุกเส้น และรัดด้วยเข็มขัดรัดท่อ
2.9 สร้างขายึดรางหัวฉีด ด้วยเหล็กหนา 3 มม. แล้วพ่นสีดำ เพื่อความสวยงาม และป้องกันสนิมเสร็จแล้ว ประกอบรางหัวฉีดเข้ากับขายึด แล้วยึดขายึดเข้าท่อร่วมไอดี บริเวณระหว่างสูบท ี่2 กับ 3 ด้วยน๊อตยึดท่อร่วมไอดีของเครื่องยน์ และสวมสายฉีดก๊าซที่ได้ยึดกับ Manifold Nozzles ที่ฝังอยู่ กับท่อร่วมไอดีเข้ากับรางหัวฉีดแล้วใช้เข็มขัดรัดท่อรัดให้แน่น
ขั้นตอนที่ 3 ผู้ปฎิบัติงาน ช่างไฟฟ้า
3.2 ถอดกล่องเก็บของ ภายในห้องโดยสาร ออกมาแล้วดินสายไฟจากห้องเครื่องเข้าไปในห้อง โดยสาร
3.3 หาสัญญาณลบของหัวฉีดน้ำมันทุกสูบ แล้วตัดสายไฟสัญญาณลบของหัวฉีดน้ำมันทุกสูบให้ขาด แล้วนำสายไฟของกล่องควบคุมระบบก๊าซเข้าไปต่อคร่อม (ดูวิธีการต่อจาก Wiring Diagram ที่เอกสารแนบท้ายเล่ม)
3.8 เสียบปลั๊กมาตรวัดแรงดันก๊าซ เข้ากับชุดสายไฟของกล่องควบคุมระบบก๊าซ (ดูวิธีการต่อจาก Wiring Diagram ที่เอกสาร แนบท้ายเล่ม)
3.9 เมื่อเสียบปลั๊กทุกปลั๊ก เข้ากับกล่องควบคุมระบบก๊าซเรียบร้อยแล้ว ก็เก็บ รายละเอียดของการเดินสายไฟ โดยใช้ท่อโปโลหุ้ม สายไฟทุกเส้นของกล่องควบคุมระบบก๊าซ และพัน ด้วยเทปพันสายไฟอีก1รอบ เพื่อป้องกันความร้อน จากเครื่องยนต์ที่จะทำให้สายไฟ ช๊อตหรือฉีกขาดได้
ขั้นตอนที่ 4 ติดตั้งอุปกรณ์บรรจุก๊าซ โดยช่างติดตั้ง
4.2 หลังจากถอดอุปกรณ์ ส่วนควบของฝากระโปรงหลังแล้ว จะมองเห็นตำแหน่ง ที่จะวัดพื้นที่ เพื่อทึ่จะออกแบบทำขาถังให้สามารถเอา ยางอะไหล่ออกได้
4.5 เมื่อวัดหาตำแหน่ง ในฝากระโปรงหลังเสร็จ ออกแบบ ขาถังได้แล้ว ใช้ตลับเมตรวัดเหล็ก ตามแบบที่ออกแบบไว้ ใช้ปากกา มาร์คเหล็กตามจุดที่จะตัด
4.10 พ่นสีกันสนิม ตรงรูที่เจาะไปแล้ว รอให้สีแห้ง จับยึดขาถังเข้ากับ ตัวรถใช้น๊อตเบอร์ 17 มม. ร้อยจากขาถังลงไปใน ตัวรถใช้แป้นรองหัวน๊อตขนาด 2*2 นิ้ว ขันน๊อตให้แน่น
4.17 เดินท่อนำก๊าซ หลีกเลี่ยงท่อไอเสีย เดินท่อนำก๊าซตามตำแหน่ง ของท่อน้ำมันหรือแปปเบรก
4.18 ยึดท่อนำก๊าซ ให้ชิดกับตัวถังรถมากที่สุด ยึดด้วย ก๊บรัดท่อ แบบมียางรอง และขัน ด้วยเกลียวปล่อยให้แน่น
4.21 สวมท่อโปโลเข้ากับเรือนกักก๊าซ ขันด้วยเหล็กรัดท่อโปโล ขันท่อนำก๊าซเข้ากับวาล์ว ใช้ฟิตติ้งบีบตาไก่ 6 มม. เข้ากับวาล์ว เสียบปลั๊ก เข้ากับวาล์วไฟฟ้า และเสียบเข้ากับเรือนระดับก๊าซ